วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ตัวประกอบของคอมพิวเตอร์

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ
ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบางเตย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ ผู้ศึกษา : นางสุวรรณา ผ่องวิจิตร ตำแหน่ง : ครู โรงเรียนวัดบางเตย สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร บทคัดย่อ รายงานการศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดบางเตย สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำนวน 36 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ย่อยทั้งหมด 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 16 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การดำเนินการศึกษาผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.22/81.85 สรุปได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกัน โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

สิ่งประดิษฐ์

สิ่งประดิษฐ์สวยด้วยวัสดุเหลือใช้

1. หลักสูตร

้สิ่งประดิษฐ์สวยด้วยวัสดุเหลือใช้

2. ความสำคัญและความจำเป็นของหลักสูตร
การรู้จักวิธีกำจัดวัสดุเหลือใช้หรือการเปลี่ยนสภาพของวัสดุเหลือใช้อย่างถูกต้อง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดขยะให้น้อยลง และเพิ่มประโยชน์ในการใช้วัสดุนั้นๆ ทำให้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ รวมทั้งช่วยลดปัญหามลพิษที่จะกำจัดให้ได้อีกด้วย
3. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จากวัสดุที่เหลือใช้ได้จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ1. บอกประเภทของวัสดุเหลือใช้ในบ้าน2. บอกวิธีกำจัดวัสดุเหลือใช้ในบ้านได้ถูกต้อง 3. บอกคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ได้4. บอกวิธีและประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ตามที่กำหนดได้
4. คุณสมบัติผู้เรียน
ประชาชนทั่วไปที่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ โดยไม่กำจัดเพศ อายุ และวุฒิทางการศึกษา
5. เนื้อหา
- วัสดเหลือใช้ในบ้าน- วัสดุเหลือใช้กับสิ่งแวดล้อม- คุณค่าของวัสดุเหลือใช้ - สิ่งประดิษฐ์ด้วยวัสดุเหลือใช้
6. รูปแบบการเรียนรู้




เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยวิธีเรียนทางไกล
7. อุปกรณ์และสื่อการเรียน
- เอกสารการศึกษา สิ่งประดิษฐ์สวยด้วยวัสดุเหลือใช้- วัสดุอุปกรณ์ของจริงที่ใช้ในการประดิษฐ์- แหล่งศึกษาดูงาน- บุคคลผู้รู้
8. การประเมินผลการเรียน
- ผู้เรียนประเมินผลด้วยตนเอง โดยทำแบบทดสอบก่อน-หลังเรียนและทำกิจกรรมทุกกิจกรรมที่นำเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์ แล้วตรวจกับเฉลยและแนวตอบกิจกรรม-ประเมินผลการปฏิบัติโดยครู กศน. หรือผู้รู้
9. วัน เดือน ปีที่เรียน
-
10. ระยะเวลาเรียน จำนวน 30 ชั่วโมง
11. สถานที่เรียน

เรียนรู้ด้วยตนเองสถานที่ใดก็ได้
12.ชื่อครูผู้สอน/วิทยากร
-
13. ค่าใช้จ่าย
-
14. สถานที่ติดต่อ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการปลูกผัก

การปลูกพริก
พริกเป็นพืชที่คนไทยปลูก และนำมาประกอบเป็นอาหารประจำวันนานมาแล้ว โดยปลูกทั้งเพื่อการค้า และเพื่อบริโภคในครัวเรือน สำหรับการประกอบอาหารนั้น อาหารหลายอย่าง เช่น น้ำพริก แกงเผ็ด แกงป่า แกงคั่ว เป็นต้น จำเป็นต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบ ถ้าจะแยกพริกออกเป็นชนิดต่าง ๆ แล้ว พอจะแยกได้ ดังนี้ คือ พริกหยวก พริกฝัก พริกใหญ่ พริกขี้หนู และพริกขี้หนูสวน เป็นต้น พริกเหล่านี้มีรสชาติ และความเผ็ดแตกต่างกันออกไป พริกขี้หนูเป็นพริกที่เราจำเป็นต้องใช้มาก เพราะนอกจากจะนำผลมาใช้ในรูปของพริกสดแล้ว ยังสามารถใช้ในรูปของพริกแห้งได้อีกด้วย และสามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพท้องที่ของประเทศไทย
พันธุ์พริก
พริกเป็นพืชที่ผสมตัวเอง และมีโอกาสผสมข้าม 7 – 36% จึงทำให้ลักษณะพันธุ์มีความปรวนแปรมาก พันธุ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พริกมัน พริกจินดา พริกเหลือง เป็นต้น และมีพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ปลูก คือ พันธุ์ห้วยสีทน เป็นพริกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ และคัดพันธุ์ จากพริกจินดา ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ ผลชี้ขึ้น ผลอ่อนเขียว ผลแก่สีแดงจัด ความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เมื่อทำเป็นพริกแห้งจะให้พริกแห้งที่มีสีแดงเข้มเป็นมัน เหยียดตรงผิวเม็ดเรียบ ก้านผลค่อนข้างยาว และรสเผ็ดจัด ทรงต้นมีการแตกกิ่งดีประมาณ 3 – 5 กิ่ง ความสูงประมาณ 1.50 เซนติเมตร
ฤดูปลูก พริกสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่การปลูกพริกเพื่อทำพริกแห้งต้องกะให้เก็บฝักได้ ในฤดูแล้งเพื่อจะได้สะดวกในการตาก การปลูกถ้าปลูกในช่วงเดือน
พฤศจิกายน – ธันวาคม จะได้ราคาดี แต่มีขีดจำกัด คือ สามารถปลูกได้เฉพาะในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ หรือในเขตชลประทานเท่านั้น
การเตรียมดิน
การเตรียมดินเพื่อการปลูกพริกนั้น แตกต่างกันไปตามสภาพของดินและระดับน้ำ ดังนี้คือ
1.
ในสภาพดินเหนียวเขตภาคกลาง มีระดับน้ำใต้ดินสูง ให้ทำแปลงขนาดกว้างประมาณ 4 – 6 เมตร

ความยาวไม่จำกัดขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และมีร่องน้ำกว้างประมาณ 1 เมตร ลึกประมาณ 0.50 – 1 เมตร ซึ่งเหมาะสำหรับใช้เรือบรรทุกเครื่องสูบน้ำเข้าไปให้น้ำได้
2.
การเตรียมแปลงในเขตชลประทาน ให้คูส่งน้ำอยู่ทางด้านหัวแปลง และคูระบายน้ำอยู่ทางท้ายแปลง

แล้วปรับระดับคูส่งน้ำระหว่างแปลงให้มีความลาดเทพอสมควร เพื่อความสะดวกในการให้น้ำ ส่วนขนาดของแปลงนั้น ให้มีความกว้างของแปลง 0.80 เมตร ร่องน้ำ 0.25 เมตร ความยาวของแปลงประมาณ 20 เมตร
3.
การปลูกในสภาพอาศัยน้ำฝน ต้องเลือกที่ซึ่งระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูก ให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 เมตร

และให้ระยะระหว่างแถวห้างกัน 0.50 เมตร ระยะระหว่างต้น 0.50 เมตร * 0.50 เมตร เมื่อเตรียมแปลงสำหรับปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 3,200 – 8,000 กก. พยายามคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 – 15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ และใช้สารเคมีป้องกัน และกำจัดแมลงชนิดดูดซึมคือ คาร์โบฟูราน เช่น ฟูราดาน คูราแทร์ โรยในหลุมประมาณหลุมละ ¼ ช้อนชา และในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวอัตราประมาณ 200 – 400 กิโลกรัมต่อไร่

การเพาะกล้า

การปลูกพริกนั้นอาจจะใช้วิธีการปลูกได้หลายวิธี เช่นการหว่าน การหยอดเมล็ดโดยตรง แต่วิธีการเพาะกล้า แล้วย้ายปลูกนั้นเป็นวิธีที่นิยม และใช้เมล็ดพันธุน้อยที่สุดสามารถลดต้นทุนการดูแลรักษาลงได้มาก วิธีการเพาะกล้านั้น สามารถเพาะในแปลงเพาะหรือในกระบะเพาะก็ได้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการเพาะกล้า มีดังนี้
1.
การเตรียมดินเพื่อเพาะกล้านั้น ให้ย่อยดินให้ร่วนแล้วใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 20 กก. ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร

คลุกเคล้าให้เข้ากัน ในเนื้อที่ 5 ตารางเมตรนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ 50 กรัม รอบแปลงควรให้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น ออลดริน โรยไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าไปทำลายเมล็ดที่เริ่มงอก
2.
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ไปหว่านนั้นต้องเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโรคออกไปก่อน

จากนั้นนำไปแช่น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 30 นาทีแล้วนำไปแช่ในสารเคมีป้องกันกำจัดราอีก 1 คืน ใส่ตะแกรงพอหมาด ๆ เอาผ้าชุบน้ำให้เปียกแล้วบิดให้แห้งห่อไว้ 2 วัน จะมีรากงอกออกมาจากเมล็ด
3.
การนำเมล็ดไปหว่านในแปลงเพาะหรือกระบะเพาะ ให้โรยเป็นแถวห่างกันประมาณ 3 นิ้ว กลบด้วยดินหนา

ประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้ฟางคลุมเพื่อรักษาความชื้นและรดน้ำให้ชุมเสมออย่าปล่อยให้แปลงแห้ง เมื่อกล้าเริ่มงอกค่อย ๆ ดึงฟางออกทีละน้อย อย่าให้กระเทือนต้นกล้าเมื่อต้นกล้าอายุได้ 30 – 40 วัน จะสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ก็พร้อมที่จะย้ายปลูกลงในแปลงใหญ่ได้
การย้ายปลูก

เมื่อกล้าพร้อมที่จะย้ายปลูกได้แล้วควรย้ายปลูกในเวลาเย็นหลังจากย้ายแล้วต้องให้น้ำทันที ถ้าปลูกโดยอาศัยน้ำฝน ต้องตักน้ำรดก่อนจนกว่าพริกจะตั้งตัวได้ หากมีต้นพริกตายต้องรีบปลูกซ่อมทันทีเพื่อให้การเจริญเติบโตเท่ากัน
การดูแลรักษา
1.
การให้น้ำ พริกเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากเกินไป ฉะนั้นก่อนให้น้ำควรตรวจดูดินบริเวณโคนต้น ดังนี้

1.1 ในดินร่วนปนทราย ทำโดยกวาดดินออกประมาณ 1 นิ้ว แล้วขุดเอาดินประมาณ 1 กำมือ บีบแล้วคลายออก

จากนั้นตรวจดูดินหลังจากคลายแล้ว ถ้าดินมีความชื้นน้อยไป ก้อนดินมีความชื้นน้อยไป ก้อนดินจะแตกหลังคลายมือออก ถ้าดินมีความชื้นพอเหมะจะจับตัวเป็นก้อน และถ้าดินมีความชื้นสูงเกินไป จะมีน้ำไหลออกมาตามช่องนิ้วมือ

1.2 ในสภาพดินเหนียว การตรวจสอบความชื้นแตกต่างไปจากสภาพดินทรายทำโดยนำเอาดินที่จะทำากรตรวจสอบ

มาปั้นเป็นแท่งยาวคล้ายดินสอให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ½ เซนติเมตร ถ้าไม่สามารถปั้นได้แสดงว่าความชื้นน้อยไป ถ้าปั้นได้แต่ขาดเป็นช่วง ๆ แสดงว่าความชื้นพอเหมาะ ถ้าปั้นได้แต่ไม่มีการขาด แสดงว่าความชื้นสูงไป ทั้งในดินร่วนปนทรายและดินเหนียว ถ้ามีความชื้นสูงเกินไปให้แก้ไขโดยการพรวนดินซึ่งจะช่วยให้น้ำระเหยออกจากดินได้ ส่วนในกรณีที่ดินแห้งเกินไปและไม่อาจให้น้ำได้ ก็ควรใช้วัตถุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นการป้องกันวัชพืชไม่ให้ขึ้นด้วย
2.
การกำจัดวัชพืช และการพรวนดินหลังจากปลูกพริกแล้ว เมื่อพริกมีอายุประมาณ 20 วัน

ควรทำการกำจัดวัชพืชที่วอกขึ้นมาและถ้าตรวจพบในไร่นาว่าดินจับตัวกันแน่นก็ให้พรวนดิน เพราะถ้าดินแน่นจะทำให้พริกแคระแกร็นได้
3.
การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยเคมีนอกจากจะใส่ครั้งแรกระยะเตรียมดินหลังจากปลูกพริก แล้วควรจะใส่ปุ๋ยเคมีอีกซึ่งมีหลักการ

ง่าย ๆ ดังนี้คือ ให้ใส่ปุ๋ยครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง และต้องกลบดินทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยโดยทั่วไปแล้วใช้ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ซึ่งสามารถหาได้ง่ายในท้องตลาดสำหรับปริมาณการใส่นั้นใส่ต้นละประมาณ 1 ช้อนสังกะสีโดยโรยรอบโคนต้นหางจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วให้ดินกลบ
การเก็บเกี่ยว

จะเริ่มทำได้เมื่อพริกอายุ 90 วัน หรือประมาณ 3 เดือนทำการเด็ดทีละผลโดยจิกเด็ดที่รอยต่อก้านผลกับกิ่ง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดและความสมบูรณ์ของต้นพริกเอง
การเก็บเมล็ดพันธุ์

ในปัจจุบันเกษตรกร ไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านการเก็บเมล็ดพันธุ์มากนักมักจะมองข้ามความสำคัญของเมล็ดพันธุ์ ที่จะนำมาปลูกมักจะนำพันธุ์พริกที่ไม่ดีมาปลูก ทำให้ผลผลิตต่ำและมีโรคแมลงรบกวน
ข้อแนะนำในการคัดเลือกพันธุ์พริกเพื่อนำมาปลูก
1.
เลือกจากต้นที่มีลำต้นแข็งแรง สมบูรณ์ เหนียวไม่หักง่าย
2.
เลือกจากต้นที่ให้ผลดก และผลพริกขนาดใหญ่สมบูรณ์เต็มที่
3.
เลือกจากต้นที่ทนทานต่อโรคและแมลง
4.
เลือกจากต้นที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ในท้องถิ่นได้ดี

เมื่อคัดเลือกผลพริกตามที่ต้องการได้แล้วให้นำมาโขลกเอาเมล็ดออกนำเมล็ดพริกมาล้างด้วยน้ำเกลือจนสะอาด นำไปผึ่งให้แห้งสนิทก่อนแล้วจึงทำการคัดเลือกที่เป็นโรคขึ้นรา หรือเมล็ดลีบทั้งไปนำไปเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อเก็บไว้ปลูกในฤดูต่อไป

อุตสาหกรรม ในการทำพริก
1.
จำหน่ายเป็นพริกสด
2.
การทำพริกป่น
3.
การทำพริกตากแห้ง
การทำพริกแห้ง

ให้เก็บพริกเมื่อแก่จัดควรเลือกเก็บผลที่มีสีแดงจัดตลาดทั้งผล และไม่ถูกโรคแมลงทำลาย เพราะจะทำให้ได้พริกแห้งที่มีสีสวยและคุณภาพดี เมื่อเก็บผลพริกแล้วควรนำมาทำให้ได้พริกแห้งที่สีสวนและคุณภาพดี เมื่อเก็บผลพริกแล้วควรนำมาทำให้แห้งโดยเร็วที่สุด

วิธีการทำพริกแห้งให้มีสีสวย มีหลายวิธีดังนี้คือ
1.
ตากแดดที่จัดจนแห้งสนิท โดยทำเป็นขั้นตอนดังนี้

1.1 บ่ม ในกรณีที่เก็บพริกไม่แดงตลอดผลโดยเก็บรวมกันในเข่งประมาณ 2 คืน เพื่อให้พริกสุกแดง สม่ำเสมอกัน

1.2 ย่าง ย่างด้วยไฟรุม ๆ จนกระทั่งสุกเพื่อให้แห้งเร็ว

1.3 การตากแดด หลังย่างแล้วนำมาตากแดดเพื่อให้แห้งสนิทยิ่งขึ้น ตากประมาณ 5แดดหลังย่างแล้วนำมาตากแดด

เพื่อให้แห้งสนิทยิ่งขึ้น ตากประมาณ 5 แดด ก็ใช้ได้แล้วบรรจุถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่นกันความชื้น
2.
นำไปลวกน้ำร้อนก่อน แล้วนำมาตากแห้งโดยที่การลวกน้ำร้อนนี้จะทำให้สีของพริกแห้งสวยไม่ขาวด่างเมื่อแห้งแล้ว

หลังจากลวกน้ำร้อนแล้วก็นำไปตากแห้ง
3.
นำไปอบด้วยไอร้อนในเตาอบซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นจำนวนมากและเหมาะกับการทำพริกแห้ง

ในช่วงฤดูฝน
วิธีทำพริกแห้งในวิธีที่ 2 และ 3 นี้มีข้อดีคือ ทำให้เชื้อโรคและไข่ของแมลงที่ติดมากับผลพริกตายเป็นการป้องกกันการแพร่กระจายของโรคได้วิธีหนึ่ง
4.
นำมาตากแดดโดยตรง ประมาณ 5 – 7 แดด โดยแผ่พริกบาง ๆ บนเสื่อ
5.
ตากในกล่องอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ ตัวกล่องทำด้วยไม้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร

ด้านบนที่รับแสงอาทิตย์มีกระจกใสหนาประมาณ 3 มม. ปิดเอียงเป็นมุมประมาณ 18 องศา ผนังและพื้นภายในกล่องทาสีดำด้าน เพื่อดูดแสงอาทิตย์ ด้านล่างของกล่องเจาะเป็นช่องให้อากาศจากภายนอกเข้า และด้านบนของหลังกล่องเจาะเป็นช่องขนาดประมาณร้อยละ 10 – 15 ของพื้นที่ราบที่รับแสงอาทิตย์ในกล่อง และเพื่อป้องกันแมลงช่องระบายอากาศควรกรุด้วยมุ้งลวด ผนังด้านหลังกล่องควรมีบานพับเปิดได้ เพื่อสะดวกในการนำวัสดุเข้าอบ ตู้นี้สามารถไล่ความชื้นออกจากวัสดุที่อบแห้งได้ประมาณวันละ 4.2 กก. ต่อตารางเมตร ของพื้นที่รับแสงการตากพริกด้วยวิธีนี้จะทำให้พริกแห้งเร็วและสะอาดกว่าวิธีอื่น

ที่มา:http://www.geocities.com/tonginn/vegetable/prig.html